วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558
สรุปเนื้อหาบทที่ 1 Introduction to E-Business and E- Commerce
สรุปเนื้อหาบทที่ 1
ความแตกต่างระหว่าง E-Commerce กับ E-Business
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กร ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บคลังสินค้า
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Business) คือ การดำเนินกิจกรรมทาง "ธุรกิจ" ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของคู่ค้า
BI - Business Intelligence
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และคู่แข่งขัน
EC - Electronic Commerce
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์
CRM - Customer Relationship Management
การบริหารจัดการ การบริหาร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า และบริการ นอกจากกนี้ ยังเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM - Supply Chain Management
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP - Enterprise Resoure Planning
กระบวนการของสำนักงานส่วนคลัง และการผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อ การจัดการใบสั่งซื้อ การจัดสินค้าคลคลัง เป็นต้น โดยระบบ ERP จะช่วยในกระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน
Intranet ระบบเครือข่ายภายในองค์กร โดยจะใช้เทคโนโลยีเดียวกับการเข้าชมเว็บไซต์ทั่วไป แต่จะจำกัดการใช้ได้แค่ พนักงานในองค์กรเท่านั้น
Extranet เป็นบริการที่เป็นให้บริการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์ มีลักษณะเหมือน Intranet จะใช้บริการได้เฉพาะ ลูกค้า เจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น ที่จะใช้ระบบได้
E-Business (อี-บีสเน็ต) คือรูปแบบของการทำธุรกิจโดยอาศัยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ ระบบเครือข่าย
(Internet ,Intranet หรือ Extranet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ การจัดการด้านการตลาดสำหรับองค์กร หรือ หน่วยงาน หรือ ส่วนบุคคลเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ
โดยรูปแบบของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่าย และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในองค์กรแบบe-Business นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1.ระบบลูกค้าสัมพันธ์ เช่น ใช้ในการแสดงสินค้า และ บริการ รวมไปถึงการรับการสั่งซื้อสินค้า และบริการ สถานภาพของสินค้าและบริการต่าง ๆ
2.การติดต่อกับแหล่งวัตถุดิบ เช่น การค้นหาวัตถุดิบ การสั่งซื้อวัตถุดิบ และ การตรวจสอบสถานภาพของวัตถุดิบที่สั่งซื้อ
3.การติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้องเช่นธนาคาร กรมศุลกากร
4.ลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานขององค์กร
Introduction to E-Business and E-Commerce
โลกเสมือน (Virtual World) การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ นั่นหมายความว่า โลกเสมือนจะต้องรองรับ การใช้งานของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา (24 ชั่วโมงต่อวัน)
- ความนิยมใช้ Social Network และ Virtual World มีมากขึ้น
- รูปแบบการนำเสนอบนเว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมมากขึ้น
- มีการพัฒนาในด้านของ Mobile Device ทำให้ Mobile Commerce มีแน้วโน้มมากขึ้น
- LBS : Location Based Service เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวัน
โลกเสมือน (Virtual World) การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานหลายคน พร้อม ๆ กันผ่านเครือข่ายออนไลน์
Location Based Service (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ
บริการเครือข่ายสังคม (Social Network Service) เป็นรูปแบบของการสร้างสังคมบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเป็นที่รวบรวมของกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกัน โดยที่นิยมเช่น Hi5 Facebook เป็นต้น โดยในยุคปัจจุบัน มีการหาผลประโยชน์ คือ การหาเงินจากการโฆษณา และการเล่นเกมส์
ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หากยังไม่มีการปรับหรือเปลี่ยนแปลงองค์กรย่อมจะไม่มีทางที่ประสบผลสำเร็จได้
Supply Chain Management หรือ SCM
กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย
กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
Supply Chain Management (SCM) คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น