วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาบทที่ - 9 E-government


บทที่ 9 E-government

E-government วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน

e-Commerce คือบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C และ B2B เป็นหลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ

การแบ่งกลุ่มตามผู้รับบริการของ e-Government G2G : ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน
(Government to Government)
G2C : ภาครัฐสู่ประชาชน
(Government to Citizen)
G2B : ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ
(Government to Business)
G2E : ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ
(Government to Employee)
G2G : ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)เป็น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการ เดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทาง การ

G2G : ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)เป็น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการ เดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทาง การ

G2B : ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)เป็น การให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดย ความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

G2E : ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee)เป็น การให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต

เงื่อนไขการพัฒนา e-Government โดยมีผลสำเร็จตรงกับความต้องการของประชาชน


- E-Governance จะต้องมีการพัฒนา ใช้ประโยชน์ และบังคับใช้นโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบอื่นใดที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการทำงานของสังคมและเศรษฐกิจใหม่

- Digital Society สังคมดิจิตอล เป็นสังคมและชุมชนที่ก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่ประชาคมในกลุ่มสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับชีวิตประจำวัน

- Digital Divide เป็นผลจากสังคมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีประชาชนกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ด้อยโอกาสและไม่สามารถเข้าถึงบริการ และข้อมูลข่าวสารที่รัฐพึงจัดหาให้

เงื่อนไขการพัฒนา e-Government โดยมีผลสำเร็จตรงกับความต้องการของประชาชน - เพิ่มขีดความสามมารถของประชาชนจำนวนมาก ให้เข้าถึงบริการของรัฐ
- เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและหน่วยราชการ
- เพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการทำงานราชการ และปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ของระบบราชการต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนในการรับบริการอย่างปลอดภัย และเป็นส่วนตัว
สิ่งที่ e-Government ไม่ได้เป็น e-Government ไม่ได้เป็นยาสารพัดโรคในทุกปัญหาที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งประเทศที่มีการพัฒนา e-Government ในระดับสูงสุด ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างหมดสิ้น

การเกิดของ e-Government ไม่ใช่เพียงการซื้ออุปกรณ์สารสนเทศ จะต้องมีการพัฒนาทั้งระบบ
ทำไมจึงต้องมี e-Government

ทำไมจึงต้องมี e-Government ในโลกยุคไร้พรมแดนนั้น e-Commerce ถือว่าเป็นยุทธวิธีสำคัญในการแข่งขันเกี่ยวกับการค้า การผลิต และการบริการ จึงทำให้เกิดคำว่า B to C (Business to Consumer) ในขณะเดียวกันประเทศต่างๆ เริ่มมองเห็นว่า แม้จะพัฒนา e-Commerce ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นเพียงใดก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งตัว G (Government) ก็จะขาดความคล่องตัวไปด้วย

ลักษณะการให้บริการของ e-Government - ที่เดียว

- ทันใด
- ทั่วไทย
- ทุกเวลา
- ทั่วถึงและเท่าเทียม
- โปร่งใสและเป็นธรรมาภิบาล
ระดับการพัฒนา ของการให้บริการ e-Government
- Information เป็นระยะเริ่มต้นของ e-Government โดยเป็นระดับที่ส่วนราชการต่าง ๆ มีเว็บไซต์ให้บริการข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน โดยที่ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นต้องมีความถูกต้อง มีคุณค่าต่อการใช้งานและมีความทันสมัย

- Interaction เป็นระยะที่สองของการพัฒนา e-Government โดยที่ระยะนี้ เว็บไซต์ของส่วนราชการต่าง ๆ สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับประชาชน เช่น บริการสืบค้นข้อมูล สร้างส่วนโต้ตอบกับประชาชน หรือ การสร้าง Web board ขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถฝากข้อความ ปัญหา ข้อสงสัย และมีการตอบกลับ หรือติดตามในเวลาที่เหมาะสม

- Interchange Transaction ระยะนี้ เว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องสามารถดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น เดียวกับร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถดำเนินกิจกรรมซื้อขาย และชำระเงิน ตลอดจนส่งสินค้า ได้ในการทำธุรกรรมเดียว ในกรณีของรัฐ การชำระภาษี Online การจ่ายค่าปรับจราจร การดำเนินการนี้จะเป็นการตัดตอนการให้บริการของรัฐหลายอย่างที่ไม่จำเป็นที่ ประชาชนต้องเดินทางไปทำ ธุรกรรมด้วยตนเอง

- Integration เป็นปฏิรูปการให้บริการของรับที่เคยเป็นองค์กรที่ไม่เชื่อมต่อกัน (Information Island) ขั้นตอนนี้จะเป็นการบูรณาการแนวราบของงานบริการ (Collaboration) ที่มีผู้ให้บริการที่มากกว่าหนึ่งหน่วยงานร่วมกันพัฒนาระบบให้มีหน้าต่าง เดียว (single window) สำหรับให้ประชาชนสามารถติดต่อได้ที่คลิกเดียวในการรับบริการจากหลายหน่วยงาน เช่น การเปิดร้านอาหาร ที่ต้องติดต่อ หน่วยงานมากกว่า สามหน่วยงาน ในสามกระทรวง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
- Intelligence เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะพัฒนาให้ e-Government สามารถดำเนินการได้ โดยการพัฒนาซอฟท์แวร์ประเภท Intelligent Agent ขึ้นในระบบ โดยในระดับนี้ เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของประชาชนที่มาใช้บริการ โดยที่ประชาชนสามารถเลือกรูปแบบข้อมูลที่ตนต้องการ (Personalized e-Services) หรือ ข้อมูลที่สรรหามาเพื่อให้ประชาชนในกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันให้ทราบ
โครงการที่ส่งเสริมการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย - โครงการพัฒนาบัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย (Multi-application smart ID card)
- โครงการพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement)
- โครงการพัฒนาและจัดทำมาตรฐานซอฟต์แวร์กลางเพื่อการบริหารของภาครัฐ (ระบบ Back Office)
- โครงการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange : GDX)
- โครงการจัดทำโครงการพื้นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (National Spatial Data Infrastructure)
- โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

ประเภทของบริการ e-government - เผยแพร่ข้อมูล

- บริการพื้นฐาน อาทิ ทำบัตรประชาชน จดทะเบียน ขอใบอนุญาต เสียภาษี ฯลฯ
- ติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการทางอีเมล์ เครื่องมือสื่อสารไร้สาย ฯลฯ
- รับเรื่องราวร้องทุกข์
- ประมวลผลข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
- บริการรับชำระเงิน
- สำรวจความคิดเห็น
- ฯลฯ

องค์ประกอบของ e-Government


1. ความพร้อมของผู้นำ
เรื่องของ e-Government เป็นการทำงานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหารประเทศในลักษณะของ Top down ในระดับสูง

2.ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน
การทำให้เกิด e-Government จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าถึงการให้บริการ โดยสามารถแยกออกได้เป็นความพร้อมของเรื่องต่าง ๆ
- โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่พร้อมใช้เพื่อการสื่อสาร และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทั่วถึง และเท่าเทียม
- ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ (Hardware and Software) ต้องมีอย่างพอเพียงเพื่อให้ทั้งภาครัฐ และประชาชนสามารถใช้เครื่องมือในการให้บริการของภาครัฐ และภาคประชาชนในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดทำให้
- ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ข้าราชการ และประชาชนจะต้องมีการพัฒนาทักษะ และเรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงาน
- เนื้อหา และสื่อ (Content) จะต้องมีการพัฒนาเนื้อหา ที่เป็นภาษาไทย (Local Content) จะต้องมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี

3. ความพร้อมของภาครัฐบาล
วันนี้รัฐบาลไทยได้มีกฎกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน (Collaboration) และบูรณาการ (Integration) เพื่อให้เกิด e-Government
4. ความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
ความสำเร็จของ e-Government ที่แท้จริงจะต้องมีเป้าหมายคือ ทำเพื่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น "ความสำเร็จของการออกแบบ e-Government คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

ประเทศไทยแบ่งกลุ่มการให้บริการต่อประชาชนเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม


- กลุ่มผู้มีความรู้ระดับสูง (Knowledge Worker) เป็นกลุ่มที่มีความสามารถทางปัญญา และมีโอกาสในการศึกษาสูงในประเทศ กลุ่มนี้เป็นประชากรที่มีความพร้อม และความคาดหวังสูงต่อการให้บริการ e-Government ของรัฐบาล ประมาณ 10 % ของประชาชน

- กลุ่มผู้มีความรู้ปานกลาง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ประชาชนทั่วไป ตลอดจนนิสิตนักศึกษา ประมาณ 30 % ของประชากรกลุ่มนี้อาจจะมีเครื่องมือเป็นของตนเอง หรือ สามารถเข้าถึงร้านอินเทอร์เน็ต หรือสถานที่บริการของรัฐในโครงการอินเทอร์เน็ตตำบลได้

- กลุ่มผู้มีความรู้น้อย และด้อยโอกาส เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย การศึกษาน้อย มีโอกาสการเข้าถึงการศึกษา และมีโอกาสทางธุรกิจต่ำ พวกนี้ยังรวมไปถึงผู้ใช้แรงงาน คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ และเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ในชนบทที่ห่างไกล ประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้ประมาณ 60 % ของประชากร กลุ่มนี้จะเป็นพวกที่ตกอยู่ในเรื่องของ Digital Divide ซึ่งเป็นพวกที่ตกอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถหา ความรู้ และบริการ e-Government

ประชาชนจะได้อะไร จาก E-government


- สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
- ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น
- รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้ มากขึ้น
- ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
- ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน









วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาบทที่ e - Procurement


บทที่ 8 e - Procurement



E-Procurement หรือ Electronic Procurement คือ กระบวนการจัดซื้อ–จัดจ้างออนไลน์ ดำเนินการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบที่ผสมผสานการทำงานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถให้ข้อมูลสำคัญต่างๆ ช่วยในการตัดสินใจในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น กระบวนการของ E-Procurement โดยทั่วไปจะมีกระบวนการทั้งหมด 8 ขั้นตอน แต่ขั้นตอนสำคัญที่ E-Procurement ช่วยลดเวลา และกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ขั้นตอน 2 ข้อขั้นต้น


1. การคัดเลือกผู้ผลิต /ผู้จัดจำหน่าย 2. ติดต่อเพื่อขอใบเสนอราคา
3. ขออนุมัติการสั่งซื้อ 4. ออกใบสั่งซื้อให้ผู้ผลิต /ผู้จัดจำหน่าย
5. ระบุจำนวนและระยะเวลาในการส่งมอบ 6. จัดส่งสินค้า
7. ออกใบแจ้งหนี้ /ใบเรียกชำระเงิน 8. ชำระค่าสินค้าและบริการ

(e – procurement)





เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น
การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลง
ทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำe – Catalog และการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น
Web Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความ
โปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบe-Procurement ในประเทศไทย
•ความมีประสิทธิภาพ(Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรง กับความต้องการ
ของผู้ใช้
•ความพร้อมรับผิด (Accountability) และการสร้างระบบธรรมาภิบาล(Good
Governance) โ ดยเจ้า หน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความ
พร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน
•ความโปร่งใส (Transparency) โ ดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิด
เผยต่อสาธารณะ
•ความคุ้มค่า(Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการ
ในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน

ขั้นตอนของระบบ e-Procurement
•ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่านE-Catalog
•เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่านE-Shopping List
•จัดประกาศเชิญชวนผ่านWeb-Site
•ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต(E-RFP)
•ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง(E-RFQ) และTrack Record ของผู้ขาย
•ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(E-Auction)
•ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
•จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment
ระบบ e–Catalog
•เป็นมาตรฐานระบบCatalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่ง
อำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง(Supplies) ที่มีคุณสมบัติทำธุรกรรม
สามารถเข้ามา ทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้ การ
จัดการCatalog ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง จะดำเนินการผ่านระบบมาตรฐานกลางโดย
สามารถLogin เข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐเพื่อ
ปรับปรุงรายการสินค้า/บริการเพื่อให้
•ส่วนราชการสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาข้อมูลและพิจารณาสั่งซื้อจากสินค้า/
บริการจากe-Catalog ได้ตลอดเวลา
ระบบ e-RFP (Request for Proposal)และ e-RFQ
(Request for Quotation
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีสอบราคาหรือวิธีตกลง
ราคา
•ค้นหาข้อมูลผู้ขาย/ผู้รับจ้างและข้อมูลคุณลักษณะเฉพาะของสินค้า/บริการ(Specification) ของผู้ค้า/ผู้รับ
จ้างที่มาลงทะเบียนไว้
•แจ้งผู้ค้า/ผู้รับจ้างที่ได้รับการคัดเลือกในขั้นต้นโดยเป็นการแจ้งผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
•การยื่นข้อเสนอ(Quotation/Proposal) ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง
•การคัดเลือกผู้ค้า/ผู้รับจ้างเพื่อรับงานซื้อ/จ้างจากหน่วยงานภาครัฐ
•การจัดทำใบขอซื้อ/ขอจ้าง รวมทั้งขั้นตอนการอนุมัติต่างๆ
ระบบ e– Auction
ส่วนที่ 1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำสุด ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่สินค้า/บริการที่
ต้องการจัดซื้อหรือจัดจ้าง e-RFP / e-RFQ มาดำเนินการประมูลผ่านทางInternet แบบReal-time ตามวันและเวลาที่กำหนด โดยการประมูล
จะมี2 แบบ คือ
!
•English Reverse Auction เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะทราบสถานะของ การประมูลว่าผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาเท่าไร แต่ผู้เข้าประมูลจะ
ไม่ทราบชื่อของผู้เข้าประมูลรายอื่น ๆ
!
•Sealed Bid เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะไม่ทราบสถานะของการประมูลและ ราคาต่ำสุดของผู้ยื่นประมูล การยื่นข้อเสนอราคาแบบ Sealed
Bidแบ่งเป็น2 แบบ คือ แบบยื่นข้อเสนอได้เพียงครั้งเดียว และยื่นข้อเสนอได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ 2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความ
จำเป็นของหน่วยงาน ภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด
ระบบ e-Data Exchange
•เปนระบบการเชอมโยงขอมลทเกยวของกบผคา เชน
•การตรวจสอบความเปนนตบคคล โดยรวมมอกบกรมทะเบยนการคาและกรมสรรพกร,
•การสงขอมลในการตรวจสอบจนวนเงนงบประมาณทไดรบการจดสรรจากสนกงบ
ประมาณ แผนการใชจายเงน ( Cash Management ) และการสงจายเงน (Direct
Payment) ของกรมบญชกลาง!
• การสงขอมลตรวจสอบการเสยภาษของผคาและผรบจาง โดยสงขอมลสญญาใหกรม
สรรพากร และสนกงานการตรวจเงนแผนดน!
•การประกาศเชญชวนผคาผาน Website หนวยงานกลางทเกยวของไดแก กรมบญช
กลาง กรมประชาสมพนธ และองคการสอสารมวลชนแหงประเทศไทย
e-Market Place
ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัท จำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลาง
ในการซื้อE-Marketplace -ขายสินค้าระหว่าE-Marketplace
ข้อดีของe-procurement ในด้านของผู้ขาย
•เพิ่มปริมาณการขาย
•ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
•- ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
•- เวลาของกระบวนการสั้นลง
•- พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
•- กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ข้อดีของ e-Procurement
จะช่วยให้องค์กรสามารถลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่ากับองค์กรลง และทาให้ฝ่ายจัดซื้อมีเวลา
วางแผนในส่วนของการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์(Strategic sourcing) ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากขึ้น

สรุปเนื้อหา บทที่ 7 Supply Chain Management

 บทที่ 7 Supply Chain Management



ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

ระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)

เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทำงานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)

ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)

ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโนงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั้นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)

ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์ และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน

การบริหารจัดการซัพพลายเชน

เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆ ในซัพพลายเชน การพัฒนาศักยภาพของซัพพลายเชนนั้น นอกจากระบบการประสานงานที่ดีภายในองค์กรแต่ละองค์กรแล้ว จะต้องพิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่มsuppliers (Supply-management interface capabilities)

เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในการแข่งขันเชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)

เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้นในเชิงการแข่งขัน คุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการคือ ความรวดเร็ว การมีสินค้าพร้อมจำหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการ การส่งมอบสินค้าที่สมบูรณ์สอดคล้องตามความต้องการของลูกค้าและการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถ

3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)

ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัทข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งในระบบองค์กรและระหว่างองค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กับการวางกลยุทธ์ ระบบสื่อสารที่ดีทำให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานได้มาก เมื่อเริ่มต้นประกอบการแล้วจึงมักได้เปรียบคู่แข่ง

การจัดการซัพพลายเชนให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการ อย่างไรก็ตามในบางครั้งการจัดการซัพพลายเชนอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

1. ปัญหาจากการพยากรณ์

การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งการพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการผลิตผิดพลาด และอาจจะทำให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น

2. ปัญหาในกระบวนการผลิต

ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องจักรเสียทำให้ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งในการซ่อมและปรับตั้งเครื่องจักร

3. ปัญหาด้านคุณภาพ

ปัญหาด้านคุณภาพอาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นระบบการขนส่งที่ไม่มีคุณภาพสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานได้เช่นกัน

4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า

การส่งมอบที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป เช่น ซัพพลายเออร์ส่งมอบวัตถุดิบล่าช้า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามตารางการผลิตที่กำหนดไว้ นอกจากนั้น ในระหว่างกระบวนการผลิต การส่งต่องานระหว่างทำที่ล่าช้าตามไปด้วยในกรณีที่ไม่สามารถปรับตารางการผลิตได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้น การส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปให้ลูกค้าล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการลูกค้าและความสามารถในการแข่งขันของกิจการ

5. ปัญหาด้านสารสนเทศ

สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้ ความผิดพลาดในสารสนเทศที่เกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น ความผิดพลาดในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การกำหนดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การขนส่ง ฯลฯ

6. ปัญหาจากลูกค้า

ปัญหาที่เกิดจากลูกค้าเป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน เช่น ลูกค้ายกเลิกคำสั่ง ในบางครั้งผู้ผลิตได้ทำการผลิตสินค้าไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ได้รับการยกเลิกคำสั่งซื้อจากลูกค้าในเวลาต่อมา จึงทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังส่วนนั้นไว้

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)


ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทำธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

ธุรกิจที่อยู่ในโซ่อุปทานส่วนใหญ่จะมีการดำเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กับซัพพลายเออร์และลูกค้าประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ เช่น

- เกิดการประหยัดต้นทุน เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี แทนแรงงานคน ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าลดลง

- ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ เช่น ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ ฯลฯ

- ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างโซ่อุปทาน

- ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น

การใช้บาร์โค้ด (Barcode)


บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทำการผลิต เลขหมายเรียงลำดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตำแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุม


การหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการรับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สำคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซ้ำซ้อนในการทำงาน

ปัจจุบันรหัสสากร (EAN Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันที่ควบคุม ดูแลและส่งเสริมการใช้ระบบมาตรฐานECC : UCC (ย่อมาจาก European Article Number : Uniform Code Council)

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)

เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า EDI Message ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร(Telecommuni- cation Network) ทำให้เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงาน

ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลต่างก็สามารถเข้าถึง EDI message ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ข้อมูลการสั่งซื้อออกมาเป็นเอกสาร ทำให้ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ลดปัญหาการสูญหายและความผิดพลาดเนื่องจากมีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาบทที่ 6 E-CRM :Electronic customer relationship management


บทที่ 6 e-CRM : Electronic Customer Relationship Management


CRM หมายถึงเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าเรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด



กระบวนการทำงานของระบบCRM


- Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
   - Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณ
ค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
  - Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอ
ใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
 - Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน


ขั้นตอนการทำงานของ CRM
1.การวิเคราะห์ลูกค้า
  - ศึกษาข้อมูลประวัติลูกค้า
  - การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและมีความละเอียดพอสมควรเก็บไว้ในฐานข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเก็บ
  - จัดแบ่งกลุ่มลูกค้า อาจแบ่งตามพฤติกรรมการซื้อหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์
  - จัดเรียงลำดับลูกค้าตามความสำคัญที่มีต่อบริษัท


2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด
สภาพแวดล้อมทางการตลาดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบภายใน และ ระบบภายนอก ซึ่งทั้งสองระบบต่างมีความสำคัญต่อองค์กรหากมีจุดบกพร่องหรือเกิดข้อจำกัดขึ้นที่ใดอาจจะทำให้ธุรกิจประสบกับความล้มเหลวได้


3. การแบ่งส่วนตลาด
ซึ่งสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็น 3 ประเภท คือ ลูกค้าที่เป็นธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก และผู้บริโภค


4. การกำหนดตลาดเป้าหมาย
สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท Traders คือ กลุ่มคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย และประเภทConsumers คือ กลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ บริษัทไม่ควรดึงลูกค้าทุกคนเข้ามาเป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด


5.การจัดทำแผนการตลาด
- การตลาดโดยตรงDirect Marketingได้แก่ โทรศัพท์ (Telemarketing) การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketing)
- การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เอกสารข่าวแจกในรูปของใบปลิว แผ่นพับ วารสาร การจัดกิจกรรมพิเศษ (Event Marketing)
- การโฆษณา (Advertising) การเขียนข้อความแบบเป็นกันเองและพิมพ์ส่วนท้ายของโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นคูปองเพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดตอบกลับมายังบริษัททั้งนี้เพื่อขอรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติม- การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เป็นการสร้างและเพิ่มยอดซื้อของลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง





ประโยชน์ ของ CRM
  - มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้ แก่ Customer Profile
  - Customer Behavior
  - วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
 - ใช้กลยุทธ์ ในการตลาด และการขายได้ อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของ
ลูกค้า
  - เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
  - ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้ จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานเพิ่มโอกาสในการ

แข่งขัน ก่อให้ เกิดภาพพจน์ ที่ดี ต่อองค์กร


e-CRM หมายถึง กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทาง internet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า รักษาลูกค้าไว้และสร้างกำไรสูงสุดจากลูกค้า


คุณสมบัติที่ดีของ e-CRM
 - ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วและสามารถในการประเมินความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าได้ เพื่อให้การปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด
 - การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์
 - ระบบการทำงานที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนซึ่งมีความเที่ยงตรงกว่าการบริหารโดยคนและยังสามารถแสดงให้เห็นถึงทิศทางและแนวโน้มในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น อัตราการเติบโตของลูกค้า ความจำเป็นที่จะต้องหาพนักงานใหม่และการฝึกฝนทีมงาน


องค์ประกอบของE-CRM
1.ระบบการจัดการ
2. คน
3.เทคโนโลยี




หน้าที่หลักของ e-CRM
- การหาลูกค้าใหม่ (Prospecting)
- การรักษาลูกค้าเก่าไว้ หรือ การเรียกลูกค้าเก่ากลับมา (Save or Win Back)
- การสร้างความจงรักภักดี การวัดความจงรักภักดีพิจารณาจาก
1)มูลค่าที่ได้รับจากลูกค้า (Value-based segmentation)
2)ความต้องการของลูกค้า (Need-based segmentation)
3)การสร้างความจงรักภักดีทำได้โดย จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เสนอสิทธิพิเศษ
- เสนอสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ทำ Loyalty Program
- การขายเพิ่มขึ้นโดยใช้ (Cross-sell/Up-sell)


ปัจจัยที่มีผลต่อ e-CRM
1. ปรับแนวคิดการติดต่อกับลูกค้า
2. เน้นการติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้า
3. ดำรงไว้ซึ่งเป้าหมายการสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้า
4. เรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์
5. ต้องมีข้อมูลของลูกค้าอย่างถูกต้อง ทันสมัยเพื่อให้ทันกับพฤติกรรมของลูกค้า
6. ติดตามกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งขันอย่างทันเหตุการณ์
7. ต้องมีความยืดหยุ่นในกลยุทธ์ ถ้าข้อมูลเปลี่ยนต้องปรับกลยุทธ์ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันที
8. ทำ ERM : Employee Relationship Management คือ สร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกของการทำงาน
เป็นทีม
9. ทำ ERM : Experiment Relationship Management คือ การจัดการกับประสบการณ์ของลูกค้า
10.ทุกฝ่ายในบริษัทต้องมี Marketing Mind


ส่วนประกอบของ e-CRM
  - ระบบการขายอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบ ขายโดยผ่านโทรศัพท์(Telesale) ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) ระบบงานสนามด้านการขายเช่น Wireless Application
  - ระบบบริการลูกค้า (Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้ บริการในด้านโทรศัพท์ ตอบรับ(Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่างๆ
  - ระบบการตลาดอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ ต่างๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ
  - Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมี ที่มาจาก 2 แหล่ง คือ
✓มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์ เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดังเดิมที่ไม่ได้ อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล

✓ข้อมูลภายนอกได้ แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น


ขั้นตอนการทำ e-CRM
1.พัฒนาฐานข้อมูล
2. เลือกเทคโนโลยี
3. เลือกโปรแกรมการตลาด
4. ติดต่อสื่อสาร
5. ประเมินผล
6. ปรับปรุงฐานข้อมูล

กลยุทธ์องค์กร ปตท.



กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน

ปตท. ดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยรักษาสมดุลของการมุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization: HPO) ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการบริหารจัดการ กระบวนการทำงาน การผลิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการบริการ การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance: CG) ภายใต้จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานอย่างโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ เคารพกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ อย่างเคร่งครัด ตลอดจนให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ด้วยความใส่ใจ ห่วงใย แบ่งปัน (Care, Share, Respect: CSR) เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างคุณค่าเพิ่มร่วมกัน (Creating Shared Value: CSV)

ปตท. กำหนดแผนแม่บทกลยุทธ์ความยั่งยืน 2555-2563 ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานตามทิศทางสู่ความยั่งยืน เพื่อให้องค์กรมีการเติบโตทางธุรกิจและมีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอยู่ในกลุ่ม บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเดียวกันควบคู่ไปกับการดูแลรับผิดชอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ทิศทางเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 3 ทิศทาง คือ การเสริมสร้างความไว้วางใจจากชุมชนและสังคมในการดำเนินงาน การพัฒนาให้องค์กรมีความเป็นเลิศในการดำเนินงานและการสร้างนวัตกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อให้ทิศทางเชิงกลยุทธ์มีความชัดเจนสำหรับการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ปตท. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงานในมิติด้านเศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดี มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านสังคม ซึ่งประกอบด้วย 8 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ การบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน การบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม และบุคคลากร


แผนแม่บทกลยุทธ์ความยั่งยืน 2555-2563


สรุปเนื้อหา บทที่ 3 E-BUSINESS STRATEGY


บทที่ 3 E-BUSINESS STRATEGY


กลยุทธ์ E-Business คืออะไร?
ทิศทางและขอบเขตการดำเนิน องค์กรในระยะยาว ซึ่งประสบความสำเร็จในข้อได้เปรียบสำหรับองค์กรผ่านการกำหนดค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ภายในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความความต้องการของตลาดและเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
สภาพแวดลอมทางธุรกิจ จึงสามารถแบงออกไดเปน 2 ประเภทหลักๆ ดวยกัน ไดแก่

กลยุทธ์ E-Business :
วิธีการการใช้งานของภายในและภายนอกการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนและองค์กรที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์


ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ e-business และ กลยุทธ์อื่น ๆ



แบบจำลองกระบวนการกลยุทธ์ทั่วไป


รูปแบบกลยุทธ์ E-Business ไดนามิก

องค์ประกอบของการวิเคราะห์สถานการณ์เชิงกลยุทธ์สำหรับ e-business




สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ




สภาพแวดลอมทางธุรกิจ จึงสามารถแบงออกไดเปน 2 ประเภทหลักๆ ดวยกัน ไดแก่
สภาพแวดลอมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือ สภาวะแวดลอมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได หมายถึง ปจจัย ตาง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกําหนด และ ควบคุมไดเปนไปตาม ความตองการของธุรกิจถือวาเปนปจจัยที่มีอิทธิพลตอ โปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะหจุดแข็งจุดออนของ ธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคูแขงขัน
สภาพแวดลอมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดลอมที่ธุรกิจไมสามารถควบคุมได ปจจัยกลุมนี้ หมายถึง ปจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลตอระบบการตลาด ถือวาเปนปจจัยที่ควบคุมไมไดแตมีอิทธิพลตอระบบการตลาด คือสรางโอกาสหรืออุปสรรคแกธุรกิจ ซึ่งประกอบดวย สิ่งแวดลอมจุลภาค และสิ่งแวดลอมมหภาคตาง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกําหนด และ ควบคุมไดเปนไปตามความตองการของธุรกิจถือวาเปนปจจัยที่มีอิทธิพลตอ โปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะหจุดแข็งจุดออนของธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคูแขงขัน




การวิเคราะหสภาพแวดลอมที่มีผลกระทบตอการบริหารธุรกิจ

S (Strengths) จุดแข็ง เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่นมีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคงที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจำหน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ

W (Weaknesses) จุดอ่อน เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไม่คงที่ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ
O (Opportunities) โอกาส เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ ฯลฯ

T (Threats) อุปสรรค เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ



การวิเคราะหเชิงกลยุทธดวย TOWS Matrix
กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) เป็นการใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก
กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน
กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่ เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข
กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) เป็นการขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ

x

สรุปเนื้อหา บทที่ 4 E-COMMERCE


บทที่ 4 E-COMMERCE

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC BUSINESS)
คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การ เครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงาน ร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร




การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC COMMERCE)
คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ใ นทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและ บริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไ ม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์โ ทรทัศน์วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โ ดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพขององค์กร โ ดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงาน ขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของ ระยะทาง และเวลาลงได้


การประยุกต์ใช้(E-commerce Application)
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์(E-Retailing)
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์(E-Auctions)
การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(E-Government)
การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)


โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก
ระบบเครือข่าย (Network)
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
การรักษาความปลอดภัย (Security)


การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
สำหรับส่วนสนับสนุน ของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วน
การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
การวางแผนกลยุทธ์E-Commerce Strategy
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์E-Commerce Law
การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
การโปรโมทเว็บไซต์Website Promotion


ขนาดของอีคอมเมิร์ซ




Brick – and – Mortar Organization
องค์กรเก่าเศรษฐกิจ (บริษัท ) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของพวกเขา ธุรกิจแบบ off-line, การขายสินค้าทางกายภาพโดยวิธีการของตัวแทนทางกายภาพ


Virtual Organization
องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของพวกเขา แต่เพียงผู้เดียวออนไลน์


Click – and – Mortar Organization
องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมอีคอมเมิร์ซบางอย่าง แต่ทำของพวกเขา ธุรกิจหลักในโลกทางกายภาพ




ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)


Business-to-Business (B2B)
Business-to-Customer (B2C)
Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
Customer-to-Customer (C2C)
Customer-to-Business (C2B)
Mobile Commerce


ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
Intrabusiness (Organization) E-Commerce
Business-to-Employee (B2E)
Government-to-Citizen (G2C)
Collaborative Commerce (C-Commerce)
Exchange-to-Exchange (E2E)
E-Learning


E-Commerce Business Model แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึ
วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะ ทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วย สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากร ขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่ม มูลค่าของสินค้าและบริการ



ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce


ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาบทที่ 2 E-business infrastructure

ความหมาย E-business infrastructure

หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้านHardware, Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน 


Internet technology Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอปุกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client /Server




Web technology


- คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext MarkupLanguage)


- หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ


โปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล



Internet-access software applications

- Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0
- Blog
- Internet Forum - Wiki
- Instant Message
- Folksonomy

Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0 - Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยียมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็ นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ส่วนมากจะใช้ภาษา html เป็นภาษา

สำหรับการพัฒนา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปโดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล

- Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นการพัฒนาต่อจาก web 1.0 สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้องด้วย


- Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่

ในรูปแบบ Metadata หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segment ที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล



เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย
1. AI (Artificial Intelligence)
2. semantic web
3. Automated reasoning
4. semantic wiki
5. ontology language หรือ OWL

Blog

*Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log

*Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ รูปและลิงค์

*การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า blogging

*บทความใน blog เรียกว่า posts หรือ entries

*บุคคลที่โพสลงใน entries เรียกว่า blogger


Internet Forum
*ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และnewsgroup
*มีการรวบรวมข้อมูลทั่วๆ ไป เช่น เทคโนโลยี เกม คอมพิวเตอร์ การเมือง ฯลฯ
*ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
*ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั่ง โพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้



Wiki

*Wiki อ่านออกเสียง wicky, weekee หรือ veekee

*สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน

*Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ



*มีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia เป็นต้น

*Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม (Encyclopedia) สาธารณะที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย

*มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่ง ในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ http://www.wikipedia.org

*วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ http://th.wikipedia.org

*ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ



How does it work? Internet standards

- Networking standards
- TCP/IP
- The HTTP protocol
- Uniform resource locators (URLs)
- Domain names

Networking standards

เป็นขบวนการที่เกียวข้องกับทุกๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol

TCP/IP

โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่นๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง(route service) ผ่าน Gateway หรือ Router เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทาง จะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้น

The HTTP protocol

HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่าง ๆ ในโลกของ World Wide Web เดต้าต่างๆ เหล่านี้โดยทั่ว ไปมักจะถูกเรียกว่า Resource โดย Resource เหล่านี้อาจจะเป็นไฟล์ เช่น HTML ไฟล์, image ไฟล์ หรือคำสั่งต่างๆ (Query String)

Uniform resource locators (URLs)



คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไปมักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสนในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือที่อยู่อินเตอร์เน็ตก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์

Domain names
คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการชื่อเว็บไซต์ คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อโดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป

สรุปเนื้อหาบทที่ 1 Introduction to E-Business and E- Commerce


สรุปเนื้อหาบทที่ 1



        ความแตกต่างระหว่าง E-Commerce กับ E-Business



พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กร ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บคลังสินค้า

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Business) คือ การดำเนินกิจกรรมทาง "ธุรกิจ" ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของคู่ค้า

BI - Business Intelligence
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และคู่แข่งขัน

EC - Electronic Commerce
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์

CRM - Customer Relationship Management
การบริหารจัดการ การบริหาร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า และบริการ นอกจากกนี้ ยังเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า

SCM - Supply Chain Management
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค

ERP - Enterprise Resoure Planning
กระบวนการของสำนักงานส่วนคลัง และการผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อ การจัดการใบสั่งซื้อ การจัดสินค้าคลคลัง เป็นต้น โดยระบบ ERP จะช่วยในกระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน



Intranet ระบบเครือข่ายภายในองค์กร โดยจะใช้เทคโนโลยีเดียวกับการเข้าชมเว็บไซต์ทั่วไป แต่จะจำกัดการใช้ได้แค่ พนักงานในองค์กรเท่านั้น

Extranet เป็นบริการที่เป็นให้บริการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์ มีลักษณะเหมือน Intranet จะใช้บริการได้เฉพาะ ลูกค้า เจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น ที่จะใช้ระบบได้

E-Business (อี-บีสเน็ต) คือรูปแบบของการทำธุรกิจโดยอาศัยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ ระบบเครือข่าย






(Internet ,Intranet หรือ Extranet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ การจัดการด้านการตลาดสำหรับองค์กร หรือ หน่วยงาน หรือ ส่วนบุคคลเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ

โดยรูปแบบของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่าย และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในองค์กรแบบe-Business นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1.ระบบลูกค้าสัมพันธ์ เช่น ใช้ในการแสดงสินค้า และ บริการ รวมไปถึงการรับการสั่งซื้อสินค้า และบริการ สถานภาพของสินค้าและบริการต่าง ๆ

2.การติดต่อกับแหล่งวัตถุดิบ เช่น การค้นหาวัตถุดิบ การสั่งซื้อวัตถุดิบ และ การตรวจสอบสถานภาพของวัตถุดิบที่สั่งซื้อ

3.การติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้องเช่นธนาคาร กรมศุลกากร

4.ลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานขององค์กร







Introduction to E-Business and E-Commerce

โลกเสมือน (Virtual World) การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ นั่นหมายความว่า โลกเสมือนจะต้องรองรับ การใช้งานของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา (24 ชั่วโมงต่อวัน)


- ความนิยมใช้ Social Network และ Virtual World มีมากขึ้น
- รูปแบบการนำเสนอบนเว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมมากขึ้น
- มีการพัฒนาในด้านของ Mobile Device ทำให้ Mobile Commerce มีแน้วโน้มมากขึ้น
- LBS : Location Based Service เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวัน

โลกเสมือน (Virtual World) การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานหลายคน พร้อม ๆ กันผ่านเครือข่ายออนไลน์

Location Based Service (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ

บริการเครือข่ายสังคม (Social Network Service) เป็นรูปแบบของการสร้างสังคมบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเป็นที่รวบรวมของกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกัน โดยที่นิยมเช่น Hi5 Facebook เป็นต้น โดยในยุคปัจจุบัน มีการหาผลประโยชน์ คือ การหาเงินจากการโฆษณา และการเล่นเกมส์

ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หากยังไม่มีการปรับหรือเปลี่ยนแปลงองค์กรย่อมจะไม่มีทางที่ประสบผลสำเร็จได้








Supply Chain Management หรือ SCM

กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย



กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น


Supply Chain Management (SCM) คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว
                      ชื่อ : นาย ณัฐวัตร  ตาแก้ว
                      ชื่อเล่น : นัท
                      ที่อยู่ : 87 ม.7 ต.หนองปลาสะวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน 51130
                      กรุ๊ปเลือด : โอ
                      สัญชาติ : ไทย   เชื่อชาติ : ไทย
                      E-mail : nutplemap@gmail.com
                      Facebook : https://www.facebook.com/nutthawat.takeaw
                      Tel : 083-4820328
                      กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่  คณะวิทยาการจัดการ
                      สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ